Friday 28 June 2013




                                  ขันตั้ง : เครื่องบูชาครูล้านนา


ขันตั้งคือ ของที่จัดไว้สาหรับบูชาหรือยกครูในเวลาจะประกอบพิธี สิ่งของที่จะจัดใส่ในพาน ในขันโตก หรือใน ภาชนะอื่น ๆ นั้นเป็นของที่ครูบาอาจารย์ท่านกาหนดให้บูชาครูนั้นมีหลายอย่าง ส่วนมากเป็นของที่มีดาษดื่นในสมัยก่อน ซึ่ง

ใช้บริโภคใช้สอยในชีวิตประจาวัน เช่น หมาก พลู ดอกไม้ เทียน ผ้าขาว ผ้าแดง ข้าวเปลือก ข้าวสาร เป็นต้น
ขันตั้งนั้นไม่จากัดเฉพาะจะต้องแต่งดาใส่ไว้ในขันหรือพาน ส่วนใหญ่จะใส่ในภาชนะที่มีก้นลึกพอสมควร และไม่ ใหญ่เกินไป นิยมกันมากคือถ้วยสังกะสี หรือที่เรียกกาละมัง ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 12 นิ้วขึ้นไป แต่ถ้าขันตั้งหลวง หรือ ขัน ตั้ง 108 ก็ใช้ขันโตกใบใหญ่เป็นที่รองรับ
การกาหนดสิ่งของเป็นขันตั้งแต่ละอย่าง แต่ละงานไม่เหมือนกัน ใช้สิ่งของไม่เท่ากัน ขันตั้งจะมีเท่าใดดูที่สวยดอกไม้ และสวยหมากพลูเป็นสาคัญ มีตั้งแต่ 4, 8, 12, 32, 36, 108 ซึ่งเป็นตัวเลขที่มีความหมายเกี่ยวกับธาตุทั้ง 4 คือ ดิน น้า ลม ไฟ และเกี่ยวกับคุณที่ศักดิ์สิทธิ์ มีคุณมารดา บิดา คุณพระรัตนตรัย

ถ้า4ได้แก่ ธาตุ4หรืออริยสัจ4 ถ้า 8 ได้แก่ มรรคมีองค์ 8 ถ้า 12 ได้แก่ อาโปธาตุ ธาตุน้า 12 อย่าง และคุณแม่ 12 คุณแม่ธรณี 12 ถ้า 16 ได้แก่ โสฬสญาณแห่งพระพุทธเจ้า 16 ประการ
ถ้า 32 ได้แก่ อาโปธาตุ 12 รวมกับปฐวีธาตุ 21 อีกนัยหนึ่งคือ คุณแม่ 12 รวมกับคุณพ่อ 21 ความจริงแล้วรวมกัน มี 33 แต่ท่านนับปฐวีว่ามีเพียง 20 โดยนับมัตถเก และมัตถลุงกังคือ ดูก กระหม่อม และสมอง เป็นอันเดียวกัน ฉะนั้นคนเราจึง มีอาการได้ทวัตติงสาการคือ อาการ 32 และขวัญคนเราทั้งหมดในตัวก็มี 32 ประการ และคุณอักขระพยัญชนะ 33 แต่เวลาแต่ง เป็นพระคาถา ๆ หนึ่งมี 32 คา
ถ้า 108 ได้แก่ คุณพระพุทธ 56 คุณพระธรรม 38 คุณพระสงฆ์ 14 จึงรวม 108
เครื่องประกอบขันตั้งนั้นจะประกอบด้วย1. สวยดอกไม้ใส่ข้าวตอกและเทียนจานวนตามที่กาหนด 2. สวยหมากพลูใส่พลูสวยละ4ใบหมาก4คาจานวนตามที่กาหนด 3. เทียนขี้ผึ้งแท้หนัก1บาท(15กรัม)1คู่ 4. เทียนเล่มกลางหนักเฟื้อง(12กรัม)1คู่ 5. เทียนเล็กจานวน4คู่8เล่ม 6. ผ้าขาวผ้าแดงอย่างน้อย1คืบอย่างมาก1ฮา(1ม้วนประมาณ3เมตร) 7. เบี้ย1,300เท่ากับเงิน12.5สตางค์คาล้านนาว่าหวิ้น 8. หมาก1,300คือหมากที่ผ่าแล้วร้อยให้ยาวเป็นสายๆหนึ่งมีประมาณ24คาเรียกหมากหนึ่งร้อยหมากพันสามคือ
จานวน 13 สาย ถ้าหมากหมื่นคือ 100 สาย 9. ข้าวเปลือกแคง(ประมาณ3ลิตร)ข้าวสาร1ลิตร 10. เงิน ตามนามศักดิ์ 12 สตางค์ (หวิ้น) สลึง (25 สตางค์) 1 แถบคือเงินรูปีอินเดีย เท่ากับ 80 สตางค์ 1 บาท เท่ากับ 100
สตางค์ บาทปลาย 2 สลึง หรือ 6 สลึง แต่ถ้ามียศศักดิ์ หรือมีเงินมาก ค่ายกครูจะมากถึง 300 แต่ปัจจุบันมักใส่ 12 บาท 36 บาท และ 108 บาทเป็นพื้น
ขันตั้งนี้เป็นค่าบูชาครู บางพิธีที่ต้องทาแก่ส่วนรวมหรือแก่ผู้มียศ บางครั้งทาพิธีอันสาคัญ เจ้าพิธีอาจจะเรียกค่าบูชาสูง
กว่าปกติ เรียกตามภาษาโบราณว่า “โป่ขันขึ้น ก้อบขัน หรือต่างขันขึ้น ” จาก 4 อาจเป็น 8, 12, 32, 36, หรืออาจถึง 108 และ วัสดุอื่นก็ต้องเพิ่มขึ้น หรืออาจมีของบูชาพิเศษเช่น มีฉัตร มีช่อ (ธงสามเหลี่ยมเล็ก) มีเทียนเงิน เทียนทอง (เรียกเตียนเงิน เตียน คา) แทนเทียนเล่มบาท อาจมีกล้วย มีมะพร้าว มีเสื่อใหม่ หม้อใหม่ ขึ้นไปตามแต่จะกาหนดไว้ในตารา
ในกรณีที่ทาพิธีถ้ามีความล่าช้าเช่นทาการรักษาคนไข้ยังไม่ทุเลาสอนวิชาให้แต่ไม่จาคนโบราณจะบอกว่า “ขันตั้งบ่ เติง” ต้องทาการเพิ่มขันขึ้นไปอีกหรือบางทีลูกหลานญาติผู้ป่วยอยากให้หายเร็วหรือคนที่อยากจะให้เกิดความสาเร็จเร็วก็ อาจจะให้สินบน “ก้อบขัน” หรือเพิ่มค่ายกครูขึ้นอีก การเพิ่มจะเพิ่มเป็น 2 เท่าคือ ถ้าขันตั้งบอกว่า 4 เมื่อจะเพิ่มก็เป็น 8 จาก 8 2 เท่าก็เป็น 16 เพิ่ม 16 ขึ้น 2 เท่าก็เป็น 32 ดังนี้แต่ถ้าจะเพิ่มขึ้นจาก 1 เป็น 3 เท่า ถ้าขันตั้งบอกว่า 4 เมื่อเพิ่มก็จะเป็น 12 เพิ่ม 12 ขึ้น 3 เท่าก็เป็น 36 เพิ่มจาก 36 ขึ้น 3 เท่าก็เป็น 108 นั้นเอง
ครูบาอาจารย์กาหนดขันตั้งว่า ถ้าทาพิธีเกี่ยวกับอักขระ อาคม เช่น ลงเลขยันต์ จุดเทียนต่าง ๆ ให้ใช้ขันตั้ง 4 เพราะ เป็นคุณธาตุ 4 และคุณอริยสัจ 4
ถ้าทาพิธีเกี่ยวกับการใช้น้า เช่น การมนต์น้ามนต์ให้อาบ ให้ดื่มกิน ใช้ประพรมให้สวัสดีมีโชค ใช้ขันตั้ง 12 เพราะเป็น คุณแม่ 12 และคุณอาโป ธาตุน้า 12
ถ้าทาพิธีเกี่ยวกับแก้อาถรรพณ์ รักษาโรคให้หายใช้ขันตั้ง 32 เพราะเกี่ยวกับร่างกายต้องใช้คุณพ่อ คุณแม่รวมกัน คือ คุณพ่อ 21 คุณแม่ 12 หรือคุณปฐวีธาตุดิน 21 คุณอาโปธาตุน้า 12
ถ้าเป็นการทาพิธีให้แก่ผู้มียศศักดิ์ มีเดชานุภาพ มีตระกูล มีเพศภาวะสูงกว่าเราให้ใช้ 108 คือเอาคุณพระพุทธ พระ ธรรม พระสงฆ์ รวมกันเช่น จะผูกมือบายศรี สืบชาตา จุดเทียนสะเดาะเคราะห์ ให้พระสงฆ์ สมณชีพราหมณ์ เจ้าบ้านเจ้าเมือง หรือทาพิธีแก่บ้านเมืองต้องตั้งขันหลวง 108 นี้
เมื่อจะทาพิธีอย่างใด เจ้าพิธีคือ พระสงฆ์ อาจารย์วัด พ่อเลี้ยง (หมอรักษาคนเจ็บ) ก็จะบอกให้แต่งดาขันตั้ง เมื่อเสร็จ แล้วจะทาพิธีประธานสงฆ์หรือพ่ออาจารย์พ่อหมอจะกล่าวคาบูชาครูเรียก “โยงขันตงั้ หรือเยิงขัน”คือยกขันที่จะบูชาครูนั้น ขึ้นเสมอศีรษะ หรือหน้าผากแล้วกล่าวคาบูชาครูเรียกว่า “คาขึ้นขันตั้ง หรือคาโยงขันตั้ง ” ซึ่งมีหลายสานวนหลายอาจารย์ แล้ว จึงเริ่มทาพิธีต่อไปจนเสร็จพิธีจงึ ปลดขันตั้งคือ ยกขันตั้งนั้นไว้เหนือศีรษะแล้วจึงกล่าวคาปลดขันตั้ง หรือปลงขันตั้ง โบราณ ปลงขันตั้งต้องคว่าขันลงจริง ๆ ปัจจุบันกล่าวจบแล้ววางไว้ที่เดิมเป็นเสร็จพิธี
แต่ถ้าหากกิจที่จะทานั้นไม่เสร็จ ก็จะยังไม่ปลดขันตั้งหรือปลงขันตั้ง ก็จะนาขันตั้งไปไว้ในที่สูง บางทีใส่สาแหรก ห้อยไว้จนเสร็จพิธีเมื่อใดจึงปลดขันตั้งหรือปลงขันตั้งเมื่อนั้น
คาโยงขันตั้ง อย่างที่ 1สิทธิกิจจัง สิทธิกัมมัง สิทธิการิย ตถาคโต สิทธิเตโช ชโยนิจจัง สิทธิลาโภ นิรันตรัง สัพพสิทธิ ปสิทธิเม
คาโยงขันตั้ง อย่างที่ 2สิทธิกิจจัง สิทธิกัมมัง สิทธิลาโภ ชโย นิจจัง พุทธังสิทธิ ธัมมังสิทธิ สังฆังสิทธิ นมามิรัตนัตตยัง พุทธคุณัง ธัมมคุณัง สังฆคุณัง อหังวันทามิ สัพพทา
คาโยงขันตั้ง อย่างที่ 3โอมสิทธิการ ครูบาอาจารย์เจ้ากูมีทังครูเทพเมืองลาว ครูผ้าขาวเมืองใต้ ครูเทพพะไท้ ไตรปิฏะกะลังกา ตักกสีลา ครู พระกูม ครูพระกัน ครูพระกูมกัณฑ์ คันธัพพะยักษ์ ตนเปนพระยากั้ง พระยาบัง จุ่งมาระวังรักษา
ตรีนิสิงเห สัตตนาเค ปัญจะพิษณุ นเมวัจจะ เอกะยักขา นวเทวา ปัญจพรัหมา นมามิหังปัตติ ทเวราชา อัฏฐะอรหันตา ปัญจะ พุทธา นมามิหัง พุทธระวัง ธัมมระวัง สังฆระวังวิดวัง บังสวาหับ
สิทธิกิจจัง สิทธิกัมมัง สิทธิลาภัง สิทธิเตชะเชยยัง สิทธิตถาคโต สิทธิอิติปิโสภควา นโมพุทธายะ มะอะอุ สิวัง สิทธิ คุณโณ ภวันตุเม โอมเหเต เยวสัพพสิทธิ สวาหะ
คาต่อท้ายโยงขันตั้งพุทธคุณัง อาราธนานัง ธัมมคุณัง อาราธนานัง สังฆคุณัง อาราธนานัง อาจาริยคุณัง อาราธนานัง มาตาปิตาคุณัง อาราธนานัง สัพพคุณานิ จะ อาราธนานัง พุทธัง ปะสิทธิ เม ธัมมัง ปะสิทธิ เม สังฆัง ปะสิทธิ เม อาจาริยัง ปะสิทธิ เม มาตาปิ ตะโร ปะสิทธิเม สัพพคุณัง ปะสิทธิเม สิระสัง เมติฏะฐะตุ
ขออาราธนาคุณพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ คุณครูบาอาจารย์ คุณพ่อแม่ และคุณทังหลายทังปวง จุ่งมาตั้งอยู่ กระหม่อมจอมหัวแห่งข้า ปะสิทธิ จุ่งหื้อสาเร็จ สัพพกิจทังมวลแก่ผู้ข้าเที่ยงแท้ดีหลีแด่เต๊อะฯ
คาปลดขันตั้ง หรือปลงขันตั้งหลังจากทาพิธีเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็จะมีการปลดขันตั้งหรือปลงขันตั้ง โดยเจ้าพิธีจะยกขันตั้งขึ้นเสมอศีรษะ แล้ว กล่าวคาปลดขันตั้งดังนี้
พุทธังปัจจักขามิ ธัมมังปัจจักขามิ สังฆังปัจจักขามิ อาจริยคุณังปัจจักขามิ สัพพคุณานัง ปัจจักขามิ อหังวันตามิ สิระสา บัดนี้ผู้ข้าก็ได้กระทาพิธีสาเร็จเสร็จบัวระมวลดีแล้ว จักขอปลงยังคุณครูบาอาจารย์ไว้กระหม่อมจอมขวัญแห่งผู้ข้า
ก่อนแล
แล้วจึงคว่าขันลง หรือวางขันตั้งไว้เก็บเอาสิ่งที่เราจะเอานอกนั้นอนุญาตให้เขาเป็นเสร็จพิธี
เครื่องขันตั้งพิธีต่าง ๆ ขันตั้งก่อหรือหล่อพระพุทธรูป- สวยดอก 4 สวย หมาก 4 (เพิ่มขึ้นได้มากเท่าใดยิ่งดี) - หมาก 4 ขด 4 ก้อม (ชิ้น) - เบี้ย 1,300 หมาก 1,300 (เบี้ย 13 ตัว หมาก 13 ไหม) - เทียนเหล้มบาท 1 คู่
- เทียนเหล้มเฟื่อง 1 คู่ - เทียนหน้อย 4 คู่ - กล้วย 2 หวี มะพร้าว 2 ลูก อ้อย 2 ท่อน - หม้อใหม่ สาดใหม่ น้าบวย (กระบวย)ใหม่ ป้าก (ทัพพี)ใหม่ - ผ้าขาว 1 ฮา (1 พับ ประมาณ 3 เมตร) ผ้าแดง 1 ฮา - ข้าวเปลือกหมื่น (10 ลิตร) ข้าวสารพัน (1 ลิตร)
- เงินแต่งตามยศคือ 300 ก็ดี 600 ก็ดี เงิน 1,000 (ทอง) คา 1,000 ก็ดี เงิน 1,200 ก็ดี เครื่องครัวทั้งหลายฝูงนี้ก็ให้ โท (เพิ่ม) ขึ้นตามขันอันใหญ่ตั้งไว้ให้เป็นกัมมสิทธิ์ (ความสาเร็จความดีงาม) แก่วัดวาอาราม
ครั้นกระทาตามวิธีอุปเทศเป็นดังกล่าวมานี้พระพุทธพิมสารูปเจ้าฝูงนั้นก็จิ่งรุ่งเรืองมีสรี(ศร)ี เตชะอานุภาพขึ้น กว้างขวาง วุฒิจาเริญแก่วัดวาอารามและเจ้าศรัทธา (เจ้าภาพ) ผู้เบิกสร้างแปงนั้นแล (ปริวรรตจากพับสาโบราณ วัดธาตุคา)
ขันตั้งต่างฉัตรธาตุ (ยกฉัตรพระเจดีย์)ที่นี้จักกล่าวยังอุปเทศ วันต่างฉัตรมหาเจติยะ อันสร้างใหม่ก็ดี แม้นอันเก่าได้เลิกล้าง หยดยา (บูรณ ซ่อมแซม) แถม ใหม่ก็ดี ใคร่หื้อมี สรี เตชะ กับวัดวาอารามสัณฐานบ้านเมืองดั้งอั้นหื้อตั้งขันหลวง
- สวยดอก 16 สวยพลูหมาก 16 - หมาก 16 ขด 16 ก้อม - เบี้ยหมื่น หมากหมื่น (เบี้ย 100 ตัว หมาก 100 ไหม) - เทียนเหล้มบาท 104 เล่ม - เทียนเงิน 2 คู่ เทียนคา 2 คู่ - เทียนน้อย 16 คู่ - กล้วยเครือ พร้าวเครือ (มะพร้าว 1 ทะลาย) - สาดใหม่ 4 ผืน หม้อใหม่ 4 ลูก วี 4 ใบ น้าต้น (คนโท)ใหม่ 4 - ผ้าขาว 2 ฮา ผ้าแดง 2 ฮา - ข้าวเปลือกหมื่น ข้าวสารพัน - เงิน 1,000 คาร้อย (ทองคาเปลว 100 แผ่น) (ปริวรรตจากพับสาของวัดธาตุคา)
ขันตั้งถอนพระพุทธรูป วิหาร เจดีย์ แท่นแก้วอุโบสถ- สวยดอก 16 สวย - สวยหมาก-พลู 16 สวย หมาก 16 ขด 16 ก้อม - เบี้ยหมื่น (จานวน 100 ตัว) หมากหมื่น (จานวน 100 ไหม) - เทียนเหล้มบาท 8 คู่ (16 เล่ม) เหล้มเฟื้อง 16 คู่ (32 เล่ม) - เทียนหน้อย 108 เล่ม
- ผ้าขาว 1 ฮา ผ้าแดง 1 ฮา (อย่างละ 3 เมตร) - ข้าวเปลือกต๋าง (1 กระบุง ประมาณ 20 ลิตร) ข้าวสารแคง (ประมาณ 3-5 ลิตร) - เงิน 300 คา 3 ซีก (ทองคาเปลว 30 แผ่น) - ช่อ 16 ตัว ฉัตร 1 คัน - สาดใหม่ หม้อใหม่ น้าต้น มะพร้าว 1 คะแนง (ทลาย) กล้วย 1 เครือ อ้อย 1 แบก (4-5 เล่มมัดรวมกัน)
ขันตั้งกินอ้อผะญา- สวยดอกไม้ ธูปเทียน 36 สวยหมากพลู 36 - เบี้ย 1,300 หมาก 1,300 - เทียนเหล้มบาท 1 คู่ เหล้มเฟื้อง 1 คู่ เทียนเล็ก 8 คู่ - ผ้าขาววา ผ้าแดงวา - ข้าวเปลือกหมื่น ข้าวสารพัน - กล้วย 3 หวี อ้อย 3 ท่อน พร้าว 3 ลูก - เงิน 300
ขันตั้งอบรมสมโภชพระพุทธรูป (บวชพระเจ้า)- สวยดอกไม้ ธูปเทียน 16 ก็ได้ 32 ก็ได้ หรือ 108 - เบี้ยหมืน หมากหมื่น เทียนเงิน เทียนคา อย่างละคู่ เทียนเหล้มบาท 4 คู่ เหล้มเฟื้อง 8 เหล้มหน้อย 16 คู่ - ผ้าขาว 1 ฮา ผ้าแดง 1 ฮา - ข้าวเปลือกหมื่น ข้าวสารพัน - กล้วย 1 เครือ มะพร้าว 1 คะแนง อ้อย 1 แบก (8 ท่อน) - เงิน 300 ขึ้นถึง 1,000 - สาดใหม่ หม้อใหม่ หมอนใหม่ น้าบวยใหม่
ขันตั้งถอนขึด- สวยดอก 36 สวยหมากพลู 36 - เบี้ย 1,300 (จานวน 13 ตัว เบี้ย 1 ตัวมีค่า 100 เบี้ย 1,300 คือเบี้ย 13 ตัว) - หมาก 1,300 (จานวน 13 ไหม หมาก 1 ไหมมีค่า 100 หมากพันสามคือหมาก 13 ไหม) - ผ้าขาววา ผ้าแดงวา (ผืนละ 2 เมตร)
- ข้าวเปลือกหมื่น (10 ลิตร) ข้าวสารแคง (3 ลิตร) - เทียนเหล้มบาท 1 คู่ เหล้มเฟื้อง 1 คู่ เทียนเล็ก 4 คู่ - เงิน 300 คา 3 ซีก น้าส้มป่อย 1 สลุง - สาดใหม่ หมอนใหม่ น้าต้นใหม่ วี น้าบวย ป้าก (ทัพพี) - กล้วยเครือ มะพร้าวคะแนง อ้อย 4 เล่ม
ขันตั้งถอนผีตายธรรมดา- สวยหมากพลู 4 สวยดอก 4 - เบี้ย 1,300 หมากพัน 1,300 - ผ้าขาว 1 ชิ้น ผ้าแดง 1 ชิ้น - ข้าวเปลือก 1 กอบ ข้าวสาร 1 กอบ (ใส่ในควักใบตองหรือถุง) - เงิน 36 บาท
- เทียนเหล้มบาท 1 คู่ เหลม้ เฟื้อง 1 คู่ เทียนเหล้มเล็ก 4 คู่
ขันตั้งถอนผีตายบ่สมควร (ตายโหง ถูกอาวุธ ตกน้า ตกต้นไม้ นั่งตาย หลับตาย ไฟดูด ฟ้าผ่า)- สวยหมากพลู 36 สวยดอก 36 - เบี้ย 1,300 หมาก 1,300 - ผ้าขาววา ผ้าแดงวา - เทียนเหล้มบาท 3 คู่ เหล้มเฟื้อง 3 คู่ เทียนเล็ก 36 เล่ม - ข้าวเปลือกแคง (3-5 ลิตร) ข้าวสารลิตร
- เงิน 300 บาท
ขันตั้งสืบชาตาคน- สวยดอก 4 สวยหมากพลู 4 หมาก 4 ขด 4 ก้อม - เบี้ย 1,300 หมาก 1,300 - ผ้าขาว ผ้าแดง - ข้าวเปลือกแคง ข้าวสารลิตร
- เทียนเหล้มบาท 1 คู่ เทียนเหล้มเฟื้อง 1 คู่ เทียนหน้อย 4 คู่ - เงิน 108 บาท
ขันตั้งสืบชาตาหมู่บ้าน- สวยดอก 12 สวย สวยหมากพลู 12 สวย - เบี้ย 1,300 หมาก 1,300 - ผ้าขาววา ผ้าแดงวา - ข้าวเปลือกหมื่น (10 ลิตร) ข้าวสารพัน (1 ลิตร) - เทียนเหล้มบาท 2 คู่ เหล้มเฟื้อง 2 คู่ เทียนหน้อย 8 คู่ - เงิน 300 บาท คาซีก 1 เท่ากับ 30 แผ่น
- กล้วย 3 หวี มะพร้าว 3 ลูก
ขันตั้งสืบชาตาเมือง- สวยหมาก 36 สวยพลู 36 - เบี้ยหมื่น หมากหมื่น - ผ้าขาว 1 ฮา ผ้าแดง 1 ฮา (ผืนละ 3 เมตร) - ข้าวเปลือกบุง (20 ลิตร) ข้าวสารแคง (3-5 ลิตร) - เทียนเงิน 1 คู่ เทียนคา 1 คู่ เทียนเหล้มบาท 4 คู่ เหล้มเฟื้อง 8 คู่ เทียนหน้อย 16 คู่ ช้อนคา 1 ใบ - เงิน 1,000 คาร้อย (ทองคาเปลว 100 แผ่น) - สาดใหม่ หมอนใหม่ น้าต้นใหม่ หม้อใหม่ น้าบวยใหม่ - กล้วย 5 หวี มะพร้าว 5 ลูก อ้อย 5 เล่ม
ขันตั้งไหว้ครูซอประจาปีสวยดอกไม้ ธูปเทียน 16 สวย สวยหมากพลู 16 สวย ข้าวเปลือกข้าวสารอย่างละ 1 อ้อง (กระทง) ผ้าขาวยาว 1 วา 1 ผืน
ผ้าแดงยาว 1ผืน
กล้วย 1เครือ มะพร้าว 1ทะลาย หัวหมู 1หัว ไก่ 4 ตัว เหล้า 1ไห ข้าวเหนียวนึ่ง 1 กล่อง น้าส้มป่อย 1 ขัน เครื่องดนตรีประกอบการซอ ได้แก่ ปี่จุม ซึง สะล้อ ขลุ่ย
ขันตั้งไหว้ครูก่อนแสดงซอสวยดอกไม้ ธูปเทียน 16 สวย สวยหมากพลู 16 สวย ข้าวเปลือกข้าวสารอย่างละ 1 อ้อง (กระทง) ผ้าขาวยาว 1 วา 1 ผืน
ผ้าแดงยาว 1ผืน กล้วย 1เครือ มะพร้าว 1ทะลาย หัวหมู 1หัว
ไก่ 4ตัว เหล้า 1ไห ข้าวเหนียวนึ่ง 1 กล่อง น้าส้มป่อย 1 ขัน สาด(เสื่อ) 1ผืน เงิน 36บาท พริก กระเทียม เกลือ หัวหอม อย่างละเล็กละน้อย
ขันสูมา ขันสูมา คือพานดอกไม้ ธูปเทียน ข้าวตอกที่จัดไว้เพื่อขอขมาลาโทษต่อวัตถุหรือบุคคลในโอกาสต่าง ๆ เพื่อไม่ให้เกิด
เป็นบาปกรรมต่อตนเองและแก่ส่วนรวม
ขันสูมาจะใช้ภาชนะทาด้วยวัสดุใดก็ได้ ส่วนมากใช้พานเงิน พานไม้ เพราะพระจับแล้วไม่เป็นอาบัติ ถ้าพานอื่นๆ เป็นวัตถุอนามาส อันภิกษุไม่ควรจับต้อง นาพานมาจัดดอกไม้ตามแต่เราจะขอขมาต่อสิ่งใด โดยจะจัดดอกไม้เป็นส่วนตามที่ เราทาการขอขมา
สิ่งที่นิยมขอสูมา คือ พระแก้ว 5 จาพวก (5 โกฐาส์ก) พระรัตนตรัย (แก้วตัง 3) ครัวทานที่ถวายพระสงฆ์ พระสงฆ์ สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ เทวดาอารักษ์ เจ้าที่ ครูบาอาจารย์ คนเฒ่า คนแก่ พ่อแม่ คนเจ็บใกล้ตาย
แหล่งที่มา พระครูอดุลสีลกิตติ์.2552. สาระล้านนาคดี : ภาคพิธีกรรม. พิมพ์ครั้งที่ 2. เชียงใหม่ : กองทุนพระครูอดุลสีลกิตติ์.